ถ้าจะพูดถึงเทศกาลการกินเจนั้นคงจะเริ่มมาจากประเทศจีน ซึ่งการกินเจในประเทศจีนนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน แต่ทว่าจีนนั้นไม่ได้กินเจกันทุกภูมิภาค แต่ความเชื่อในการกินเจนั้นก็ยังแพร่หลายมายังประเทศไทย ในตอนนี้อาจจะพูดได้ว่าเผอิญคนจีนที่อพยพมาไทยในสมัยนั้น มาจากมณฑลกวางตุ้ง และฮกเกี้ยนกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งพื้นที่ตรงนั้นของจีนมีการกินเจกันแพร่หลาย จนเมื่อพวกเขาอพยพเข้ามายังประเทศไทย ก็พาวัฒนธรรมของตัวเองมาด้วย
มีเรื่องเล่าว่า ประเพณีกินเจ หรือ “เจี๊ยฉ่าย” แปลตรงตัวคือ “กินผัก” นั้น เริ่มต้นขึ้นในประเทศไทยที่หมู่บ้านในทู (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต นั้นเอง แถวนั้นมีแร่ดีบุกมาก แรงงานจีนฮกเกี้ยนเลยมักมาทำเหมืองกันตั้งแต่ปี 1824 หรือ พ.ศ. 2367 ถึงแม้บริเวณนั้นเป็นป่า มีภัยจากทั้งสัตว์ร้ายและโรคต่างๆ แต่คนก็ยังมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้เจริญขึ้นเป็นอย่างมาก กระทั่งมีงิ้วขมาเล่นได้ในปี 1850 พ.ศ. 2392
คณะงิ้วเล่นไปสักพักก็เกิดเหตุการ์ณมีคนป่วย ทำให้พวกเขาหาวิธีแก้ไขจนละลึกขึ้นได้ว่า ควร “เจี๊ยฉ่าย” แบบตอนที่เขาไก้อาศัยออยู่ที่เมืองจีน เพื่อเป็นการขอขมาเทพ ซึ่งเมื่อทำการ เจี๊ยฉ่ายแล้วก็ปรากฏว่านอกจากชาวงิ้วหายป่วยแล้ว ชาวบ้านทั้งหลายที่เคยเจ็บเคยป่วยออแอดก็อาการดีขึ้นไปด้วย พวกเขาจึงถามวิธีกับคณะงิ้วว่าทำอย่างไร และได้ความว่า ต้องทำพิธีกินผักนั่นเอง ดังนั้นแล้ว คณะงิ้วจึงได้บอกสอนกับชาวบ้านว่า นอกจากการเคารพเทพเจ้าและบรรพบุรุษอย่างที่ทำเป็นประจำอยู่แล้ว ก็ควรจะถือศีลกินผักไปด้วย จะเป็นการดีอย่างมาก
ซึ่งพอชาวบ้านได้ยินอย่างนั้น ชาวบ้านทำตาม ก็ทำให้หมดโรคไปอย่างน่าอัศจรรย์ เลยมีคนไทยเชื้อสายจีนปฏิบัติตามด้วยความศรัทธาของพิธีกกรรมนี้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และแพร่ไปทั่วกลุ่มคนจีนอื่น ๆ จนไปถึงทั่วประเทศ โดยที่ภูเก็ตเป็นงานใหญ่สุดนั่นเอง ด้วยเหตุนี้การกินเจถึงเป็นธรรมเนียมสำคัญของคนไทยเชื้อสายจีน ที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่ตอนนั้น
จากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคม การกินเจที่เมืองไทยในปัจจุบันดูเหมือนเป็นการทำๆตามกันมามากกว่าทำบุญตามธรรมเนียมเดิมที่เคยปฏิบัติกันมา มีการผลิตสิ่งวัถุดิบเทียมเนื้อต่างๆ ออกมาหลายแบบเพื่อตอบสนองตลาด ที่มีความต้องการการบริโภคอาหารเจที่เปลี่ยนไป จนคนที่เคร่งครัดบางคนอดติไม่ได้ว่านี่เป็นการยึดติดกับรูปรส มิได้ทำเพื่อละเลิกเนื้อสัตว์จริงๆ แต่ขณะเดียวกันก็มีกระแสอีกด้านหนึ่งว่า เมนูเจเหล่านี้ถือเป็นความสร้างสรรค์ที่เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมเดิมให้คงอยู่ในรูปแบบใหม่
ในปัจจุบัน ยังมีกระแสการกินมังสวิรัต, วีแกน, และ Plant-based Diet แม้ว่าแต่ละสายจะมีระเบียบการทานแยกย่อยไปมาก แต่ล้วนทำเพื่อลดการกินเนื้อสัตว์ทั้งนั้น เพราะมีผลพิสูจน์ว่าการงดกินเนื้อช่วยรักษาสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นลดไขมันทรานส์, ลดสารตกค้าง, ช่วยให้กระเพาะไม่ต้องทำงานหนัก, ลดความเสี่ยงมะเร็ง อีกทั้งยังช่วยลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเลี้ยงปศุสัตว์อีกด้วยนั้นเอง
แม้การลดการกินเนื้อตามแนวคิดสมัยใหม่จะไม่เท่ากับการกินเจ เพราะไม่มีการถือศีลมาเกี่ยวข้องด้วย แต่ก็ถือว่าทั้งสองแนวทางเกื้อกูลกัน ต่างช่วยส่งเสริมให้มีเมนูที่อร่อยและแปลกใหม่มากินร่วมกันได้อย่างหลายหลายจาน ดังนั้นจึงไม่แปลกอะไรมากนัก หากปัจจุบันในช่วงเทศกาลกินเจ เราจะพบกับเมนูสร้างสรรค์ที่ออกมาจำหน่ายมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สเต็กเจ, หมูกรอบเจ, ปลาดิบเจ, สุกี้เจ, ไอศกรีมเจ, ชานมไข่มุกเจ, และอีกมากมายที่แทบเรียกได้ว่า มีเกือบครบเท่าอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ แค่เป็นในรูปแบบ “เจ” เท่านั้น
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อาหารจีนที่มีรสชาติอร่อย ที่เราคุ้นเคยนั้นหลายอย่างมีขายเพียงช่วงเทศกาลเจเท่านั้น เช่น ต้มกะหล่ำปลีฟองเต้าหู้, น้ำพริกเห็ดหอม, ขาเห็ด, หมี่ผัดเจ, ป่อเปี๊ยเผือก ฯลฯ ล้วนเอร็ดอร่อยจนอยากให้มีขายตลอดทั้งปี ตรงนี้ไม่ว่าจะเป็นคนไทยเชื้อสายจีนหรือคนไทยอื่น ๆ ไม่ว่าจะถือศีลหรือไม่ ต่างก็สามารถมาร่วมกินเจกัน ด้วยเหตุผลว่ามันอร่อย มีรูปแบบใหม่ ๆ ที่เพิ่มมากขึ้น และมีความหลากหลายมากเพิ่มขึ้นนั่นเอง
การกินเจเป็นสิ่งที่คนจีนเคยปฏิบัติด้วยความเชื่อที่แตกต่างกันไป แต่ก็ไม่ได้มีการกินทั้งประเทศ ทำกันแค่ในคนบางกลุ่มเท่านั้น ก่อนจะโดนกวาดล้างไปมากตอนปฏิวัติวัฒนธรรม ก็ทำให้ประเพณีนี้เลือนไปหายไปชั่วขณะแต่ว่าในปัจจุบันก็ยังมีการสืบทอดต่อกันมาเพียงแต่ว่ารูปแบบอาจจะเปลี่ยนไปจากเดิมแล้วเท่านั้น อย่างไรก็ตามธรรมเนียมกินเจก็ยังสืบทอดกันมากในหมู่คนจีนโพ้นทะเล โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีการฉลองเทศกาลอย่างยิ่งใหญ่ทั้งจากทางภาครัฐและเอกชน แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามกาลเวลาก็ตาม