ขอบคุณรูปภาพจาก pinterest
ท่านผู้อ่านเคยสงสัยกันไหม ว่าไสยศาสตร์ในไทยมีที่มาที่ไปอย่างไร? แล้วเหตุใดจึงเข้าถึงคนได้ทุกเพศทุกวัย และยังมีอิทธิพลอยู่ในสังคมไทยเราอย่างมาก แม้จะอยู่ในยุคที่วิทยาการพัฒนาไปมากแล้วก็ตาม
วันนี้เราจะมาดูความเป็นมาของไสยศาสตร์ ที่เกี่ยวโยงกับศาสนาและความเชื่อของไทย ที่ยังแฝงอยู่ในวิถีชีวิตของเรากันมาเรื่องผีๆนั้นมีความเป็นมามาอะไร
วารสารมนุษยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้นิยาม “ไสยศาสตร์” ไว้ว่าเป็น “ระบบของอำนาจเหนือธรรมชาติ” อาจแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1 ความเชื่อต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ 2 ความรู้ ความสามารถในการใช้อำนาจเหนือธรรมชาติ ซึ่งกลายเป็นวิชาไสยศาสตร์ที่นักไสยเวทศึกษากัน
มีความเชื่อกันว่าคำว่า “ไสยศาสตร์” อาจแปลงมาจากคำว่า “ไศวะศาสตร์” หรือศาสตร์ของพระศิวะซึ่งเป็นมหาเทพแห่งศาสนาฮินดู เมื่อคนไทยเห็นผู้นับถือฮินดูสวดบทสวดจากคัมภีร์อาถรรพเวทในภาษาบาลีหรือเขมรเพื่อให้เกิดผลดีแก่ตนเอง หรือให้ผลร้ายแก่ศัตรู ทำสเน่ห์ รักษาโรค ฯลฯ ก็ชื่นชมว่าสิ่งนี้ทำให้เกิดอำนาจ จึงเลียนรูปแบบมนต์คาถามาใช้ต่อๆ กัน นานเข้ามีการนำสิ่งนี้มาผสมกับความแบบเชื่อท้องถิ่นและศาสนาพุทธ จนกลายเป็นวิชาไสยศาสตร์ไป ในลักษณะนี้ไสยศาสตร์ไทยจึงผูกติดอยู่กับภูมิปัญญาอื่นๆ ในสังคมไทย ทั้งด้านการทำนาย การรักษา หรือการทำศึก นั้นเอง
มีคำกล่าวไว้ว่าไสยศาสตร์นั้นก็เปรียบเหมือนเทคโนโลยีของคนสมัยโบราณ ไสยศาสตร์ในประเทศต่างๆ มักตั้งอยู่บนพื้นฐานศาสนาที่คนในชาตินั้นๆ เชื่อหรือนับถือ
ขอบคุณรูปภาพจาก pinterest
ศาสนาพุทธสามารถชิงพื้นที่ของธรรมะชั้นสูง ระดับ "เหนือโลก" เห็นได้จากคนไทยนั้น ไม่ว่าจะเชื่อผีสางนางไม้เพียงใด แต่ถึงที่สุดแล้วยังคงเชื่อว่าความดีสูงสุดคือการละกิเลสซึ่งจะทำให้หมดทุกข์ และเชื่อในการบำเพ็ญตนให้เข้าถึงภาวะสงบสุขที่เรียกว่า "นิพพาน" ทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดของศาสนาพุทธนั้นเอง
อย่างไรก็ตามคนไทยยังนับถืออีกศาสนาหนึ่ง เรียกว่า "ศาสนาผี" ศาสนาผี (Animism) หรือที่เรียกแบบวิชาการว่า “วิญญาณนิยม” คือศาสนาแรกของโลก ที่มาจากการที่มนุษย์หลายๆ อารยธรรมมีความคิดจากจิตใต้สำนึกคล้ายกันว่า สรรพสิ่งรอบตัวเรานั้นมีวิญญาน หรือที่ไทยเรียกว่า “ผี” สถิตอยู่ และผีนั้นสามารถให้คุณให้โทษกับเราได้
คนไทยนับถือศาสนาผีเป็นศาสนาแรกเหมือนคนชาติอื่น ๆ และต่อมานั้นเมื่อรับเอาศาสนาพราหมณ์และพุทธมาแล้ว ศาสนาผีก็ถูกกลืนไป ที่จะเหลืออยู่เด่นๆ เช่นหลักฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถชิงพื้นที่ "ธรรมะระดับเหนือโลก" จากศาสนาพุทธได้ จึงถูกผสมกลมกลืนจนสาบสูญไปมากแล้ว
ศาสนาผีสามารถครองไว้นั้น กลับเป็นพื้นที่ "เทคโนโลยี" หรือพื้นที่ของไสยศาสตร์นั่นเอง เวลาที่คุณเดินเข้าวัดไทยหลายวัด คุณจะพบว่ามันเป็นที่ๆ มีรูปปั้นพระพิฆเนศ เจ้าแม่กวนอิม พญานาค ศาลปู่ย่า ต้นตะเคียน พระราหู และพระพุทธรูปอยู่ร่วมกันได้โดยกลมกลืน นั่นเป็นเพราะคนไทยมองสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นทั้งหมดเป็น "ผี" ตนหนึ่ง
จะสังเกตเห็นได้ว่าเราสามารถกราบไหว้อะไรก็ได้ที่เราเห็นว่ายิ่งใหญ่ แปลกพิสดาร หรือน่าเกรงกลัว เช่นไหว้ภูเขา ไหว้ต้นไม้ ไหว้งู ทั้งนี้ผีที่เรากราบไหว้ไม่จำเป็นต้องเป็นผีที่ดีเท่านั้น คนอย่างชูชกต่อให้มีนิสัยไม่ดี แต่ดูเหมือนจะให้โชคลาภได้ง่าย ก็สามารถได้รับการกราบไหว้ได้เช่นกัน
นอกจากนั้นเราไม่จำเป็นต้องไหว้ผีที่ให้คุณประโยชน์เพียงเท่านั้น แต่ต่อให้เป็นผีดุร้ายเราก็สามารถกราบไหว้ได้เช่นกันเพื่อให้ผีเหล่านั้นไม่มามาทำร้ายเรา ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใด ศาสนาผีก็ยังครองพื้นที่ "เทคโนโลยี" ที่ใช้ตอบสนองความต้องการพื้นฐานของคน เช่น มีการไหว้ผีเพื่อขอความร่ำรวย ขอความปลอดภัย หรือขอความต้องการที่ประกอบด้วยรัก โลภ โกรธ หลงอื่นๆ ขอเพื่อความปรารถนาของตัวเอง
แน่นอนศาสนาผีของไทยมิได้มีเวอร์ชันเดียว แต่มาจากหลายความเชื่อ เช่นลัทธิบูชางู (ต่อมาที่ได้พัฒนาเป็นการนับถือนาค,) ลัทธิบูชาผู้หญิง (ต่อมาพัฒนาเป็นการนับถือเจ้าแม่ต่าง ๆ ) ลัทธิบูชาเด็ก (ต่อมาพัฒนาเป็นการนับถือผีเด็ก เช่น กุมารทอง หรือไอ้ไข่ ที่เราเห็นได้ตามวัดทั่วไป)
กล่าวได้ว่าคนไทยจำนวนมากยังคงนับถือและยึดเหนี่ยวในศาสนาผสมแบบดั้งเดิม และมีพระสงฆ์หลายรูปทำหน้าที่ของหมอผีโบราณไปด้วย มีการเสกเป่า สักยันต์ และใช้เทคโนโลยีโบราณต่างๆ ในการช่วยทำผู้ใช้บรรลุความต้องการอย่างกว้างขวางที่เรามักจะได้เห็นโดยทั่วไป
ดั้นั้นไสยศาสตร์จึงอยู่คู่กับวัฒนธรรมไทยมาตลอด แม้ปัจจุบันจะถูกเย้ยหยันว่าโบราณคร่ำคึ แต่มันก็รุ่งเรืองอยู่เสมอ ในบทความนี้มิได้มีเจตนาด้อยค่า หรือยกย่องวิชาไสยศาสตร์ แต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการเขียนถึงมันในเชิงประวัติศาสตร์ เพื่อให้ผู้อ่านที่เป็นชาวไทย สามารถเข้าใจรากเหง้าของตนเองได้ดีขึ้น หรือสิ่งที่เรากำลังนับถือหรือยังคงมีสังคมส่วนใหญ่ที่ยังเชื่อในเรื่องนี้ เพราะที่สุดแล้วไสยศาสตร์ก็คือวัฒนธรรม ที่สะท้อนขนบ แนวคิด และนิสัยของเรา โดยที่เราทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว
ขอบคุณข้อมูลจาก lucabet