ขอบคุณรูปภาพจาก pinterest
เวลาพูดถึงญี่ปุ่น หรือประเทศญี่ปุ่นแล้วนั้น หนึ่งในสิ่งที่เราจะนึกถึง นอกจาก การกิน เกมต่าง ๆ และการ์ตูนนั้น คงไม่พ้น “เรื่อง ผี ๆ” เพราะผีญี่ปุ่นมีหลากหลายแบบมากหลายตัวตนมาก นอกจากความหลอน บางตัวก็น่าสนใจ หรือบางครั้ง อาจไปถึงขั้นน่ารักอาจจะฟังแล้วูแปลกๆแต่เกิดขึ้นจริงกับตำนานผีญี่ปุ่น
เนื่องจากวันฮาโลวีนในปีนี้ใกล้เข้ามาแล้ว บทความนี้เราเลยจะขอเล่านิยามของผีญี่ปุ่น ทั้งที่เรียกว่า “ยูเร” และ “โยไค”พร้อมนำเรื่องราวของผีญี่ปุ่นอีก 2 ตัวมาเล่าให้ทุกคนที่สนใจเรื่องลี้ลับได้มาอ่านความหลอนและน่าสนใจไปด้วยกัน
ก่อนจะไปฟังเรื่องผี ต้องขอพูดคร่าวๆเกี่ยวกับประวัติของผีญี่ปุ่นกันก่อน หลายๆแหล่งจะแบ่งผีญี่ปุ่นออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ ยูเร (幽霊) และ โยไค (妖怪) ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้
“ยูเร” หากแปลความหมายโดยตรงตามตัวอักษรแล้ว “ยู” หมายถึง ซีดจาง ส่วน “เร” หมายถึงวิญญาณ รวมเป็น “วิญญาณจืดจาง” ซึ่งฟังดูน่าสงสาร และก็น่าสงสารจริงๆ เพราะยูเรมาจากคนที่ตายตาไม่หลับ เพราะยังมีบุญคุณความแค้นที่ยังไม่ได้สะสางให้ลุล่วง หรืออาจเพราะลูกหลานไม่ได้จัดงานศพให้ถูกต้องตามประเพณี เลยยังต้องวนเวียนอยู่บนโลกตามยถากรรม หากเปรียบกับผีไทยก็คงจะคล้ายๆ คำว่า “สัมภเวสี” ยูเรเฮี้ยนๆ โดยมาก มาจากคนที่ตอนมีชีวิตอยู่นั้นมีชีวิตที่อาภัพ เจอเรื่องโหดร้ายรุนแรง โดนกลั่นแกล้งมาตลอด หรืออาจจะตายโดยยังไม่สิ้นอายุขัย สาเหตุการตายอาจจะมาจากการ ฆ่าตัวตาย หรือโดนฆาตกรรม พวกนี้ก็จะเฮี้ยนเป็นพิเศษ อันเป็นที่มาของความหลอนมากมาย
ถ้าใครเคยเห็นภาพผีญี่ปุ่นรูปร่างหน้าตาเหมือนคนแต่มีใบหน้าซีดๆ ใส่ชุดขาว ผมยาวดำ ไม่มีขา ลอยไปลอยมา บางทีก็ปรากฏตัวเป็นเพียงลูกไฟ นั่นล่ะคือยูเร
ส่วน “โยไค” หรือ “โย” หมายถึงคำว่า ความน่าสนใจ น่าหลงใหล ส่วนคำว่า “ไค” แปลว่า ปริศนา ความไม่ชอบมาพากล รวมกันแล้วก็เป็น อะไรแปลกๆ ที่น่าค้นหา นั้นเอง ฟังดูน่าสนใจกว่ายูเรหน่อย และก็มีหลากรูปแบบกว่ามากด้วย
โยไคนั้นหากเทียบกับของไทย น่าจะใกล้เคียงกับคำว่า “ผี” ตามความเชื่อเรื่องศาสนาผีหรือวิญญาณนิยม ซึ่งเป็นศาสนาแรกที่คนในโลกนับถือร่วมกัน ผีในที่นี้จะหมายถึงตัวตนเหนือธรรมชาติที่สามารถให้คุณให้โทษได้ โดยผีไม่จำเป็นต้องเป็นผีร้าย หลายกรณีเราก็จะเรียกเทพว่าผี เช่นผีฟ้า เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่หลายครั้งโยไคก็กลายเป็นคามิ (เทพ) ได้อีกด้วย
ดังนั้น โยไคอาจปรากฏอยู่ในหลากรูปแบบ เป็นได้ทั้งวิญญานที่สิงอยู่ในข้าวของเครื่องใช้ประจำวันทั้วไป เช่น ผีร่ม, ผีโคมไฟ ฯลฯ หรือจะเป็นอสูรกายเช่น ยักษ์, ผีคอยาว, กัปปะ, จิ้งจอก อะไรแบบนั้นก็ได้
ในศาสนาผีของญี่ปุ่น มนุษย์นั้นนับเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และจะมีการกลับชาติมาเกิดแบบ random เหมือนศาสนาผีของไทย กล่าวได้ว่าคนเมื่อตายแล้วอาจจะไปเกิดเป็นเทนงู และกลับมาเกิดเป็นคนอีก โดยไม่ได้มีกติกาเรื่องบุญกรรมของศาสนาพุทธมาเกี่ยวมากนัก
หลักจากที่เราได้รู้ตำนานประวัติของต้นกำเนิดความหลอนของญี่ปุ่นไปแล้ว ในที่นี้เรื่องจะขอหยิบยกเรื่องของ “ภูติผีปีศาจญี่ปุ่น” ที่ดังๆ มาเล่าพอให้เห็นภาพกันดั้งนี้
“อีกาสามขา” หรือ “ยาตะการาสุ” เป็นหนึ่งในสัตว์วิเศษสำคัญของญี่ปุ่น สืบทอดมาจากความเชื่อดั้งเดิมของจีนที่ว่ามีอีกาอาศัยอยู่บนดวงอาทิตย์ และเนื่องจากคนญี่ปุ่นนั้นนับถือพระอาทิตย์ จึงนับถืออีกาสามขาเป็นสัญลักษณ์แทนกันไปด้วย
บางกระแสเชื่ออีกว่าอีกานั้นคือพระอาทิตย์ ส่วนขาสามขาที่งอกออกมาหมายถึง ฟ้า, ดิน, และคน และเมื่อความเชื่อจีนผสมกับความเชื่อท้องถิ่น ชาวญี่ปุ่นก็ถือกันว่า ยาตะการาสุ คือนกผู้ส่งสารของอามาเทระสุ เทพีแห่งดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นเทพสูงสุดในศาสนาชินโต ดังนั้นสถานะในช่วงต่อมาของอีกาสามขาก็พัฒนาจากโยไคไปเป็นคามิด้วย
ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นยุคเทพนิยาย พระจักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่น นาม “จักรพรรดิจิมมุ” ได้พยายามสร้างชาติ แต่ประสบความลำบากทั้งจากศัตรูเผ่าอื่นและภัยธรรมชาติ เทพีอามาเทระสุเห็นใจเลยให้ยาตะการาสุไปนำทางจักรพรรดิจิมมุมุ่งสู่ทิศตะวันออก จนสามารถสร้างอาณาจักรขึ้นมาได้สำเร็จ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ยามาโตะ ปัจจุบันคือนารา นั้นเอง
เทนงูเดิมเป็นผู้เฝ้าสวรรค์ รูปร่างคล้ายมนุษย์แต่มีปีกบินไปไหนมาไหนได้ แรกๆ เชื่อกันว่าเทนงูมีปากเหมือนอีกา แต่ยุคต่อมากลับมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น แต่ยังมีใบหน้าสีแดง ตาโต และจมูกยาว กว่าคนทั่วๆ ไป ดูท่าทางโกรธอยู่เสมอๆ นักวิชาการรุ่นหลังเชื่อว่ารูปลักษณ์ของเทนงูอาจจะมาจากครุฑอินเดีย และครุฑถูกเอามาปนกับชื่อสุนัขสวรรค์ได้อย่างไรนั้นยังมีคำตอบไม่แน่ชัด ตำนานช่วงแรก ๆ กล่าวถึงเทนงูในทางไม่ค่อยดีเท่าไหร่ คือเป็นมารที่ชอบก่อกวนชาวบ้าน โดยเฉพาะพระสงฆ์ เทนงูมักหลอกลวงให้คนที่ไขว้เขว จับไปปล่อยป่าบ้างล่ะ หรือไม่ก็สิงผู้หญิงไปล่อลวงพระจนให้ตบะแตก มีตำนานเล่าอีกว่าจักรพรรดิคนหนึ่งชื่อชูโทกุโดนขับออกจากบัลลังก์ และพยายามชิงอำนาจคืนแต่แพ้ ก่อนตายเลยลั่นสาบานแก้แค้น และกลายเป็นปีศาจเทนงูไป
ยุคต่อๆ มา ผู้คนมองเทนงูในมุมมองที่ดีขึ้น เช่นในยุคคามาคุระมีการเขียนแยก “เทนงูที่ดี” กับ “เทนงูที่ไม่ดี” ออกจากกัน ซึ่งในความไม่ดี ก็มีการอธิบายไว้ว่า เป็นเพราะเทนงูตัวนั้นๆ ทะเยอทะยานเกินไปจึงหลงผิด แต่จริงๆ เนื้อในพวกเขาเป็นคนดี ชาติก่อนเป็นคนมีศีลธรรม
ช่วงศตวรรษที่ 18 - 19 เทนงูกลายเป็นเจ้าป่าเจ้าเขา คอยรักษาป่าไม่ให้มีนายพรานเข้าไปบุกรุก หากนายพรานจะเข้าป่า ต้องบูชาเทนงูก่อน มิเช่นนั้นจะโดนกลั่นแกล้ง ในท้ายที่สุด เทนงูก็ได้ยกระดับจากแค่เป็นภูตผีปีศาจกลายเป็นคามิองค์หนึ่งไปด้วย
นี่คือเรื่องราวของสิ่งลี้ลับที่น่าสนใจนำมาเสนอให้กับทุกท่านที่สนใจอ่านเรื่องที่มองไม่เห็น หวังว่าทุกคนจะสนุกและได้เข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับตำนานของญี่ปุ่นที่ไม่ได้มีเพียง เกม การ์ตูน หรืออาหารเพียงเท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก บาคาร่า บาคาร่าออนไลน์ เว็บบาคาร่า