ขอบคุณรูปภาพจาก pinterest
จากบทความที่แล้วเราได้พูดเกี่ยวกับปมดราม่าที่เกิดขึ้นก่อนการแข่งขัน “โตเกียวโอลิมปิก 2020” ว่ามีปมดราม่าอะไรบ้างที่เกิดขึ้นก่อนจะมีการจัดการแข่งขันโอลิมปิกที่ได้จัดขึ้นไปแล้วในเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา เราได้พูดถึง ดราม่าไปแล้ว 5 ข้อ เราจะมาพูดอีก 5 ข้อที่เหลือในบทความนี้ ไปดูกันเลยว่ามีดราม่าอะไรเกิดขึ้นอีกบ้างระหว่างเส้นทางสู่โตเกียวโอลิมปิกของแดนอาทิตย์อุทัยที่เกิดขึ้น
6 งดขายหนังสือโป๊
"ภาพลักษณ์" เป็นสิ่งที่คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
สิ่งไหนที่ญี่ปุ่นทำเป็นปกติ แต่โลกไม่ชอบ ญี่ปุ่นก็พร้อมเปลี่ยน เช่นการวางขายหนังสือโป๊ในร้านสะดวกซื้อ
ปกติแล้ว สิ่งพิมพ์วาบหวิวเป็นของที่หาได้ทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น วางเด่นหราโดยที่ตำรวจไม่จับ แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ชาติอื่นยอมรับ ญี่ปุ่นเลยยอมเปลี่ยนตัวเอง โดยไม่ทำการวางจำหน่าย
ร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่นอย่าง 7-Eleven และ Lawson ต่างประกาศร่วมมือกันงดขายนิตยสารวาบหวิว เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ เรื่องนี้เริ่มตั้งแต่ปี 2019 เพราะช่วงนั้นญี่ปุ่นกำลังเตรียมตัวจัดงานกีฬาสำคัญถึงสองงานคือรักบี้ชิงแชมป์โลก 2019 และโตเกียวเกมส์ 2020
7 โควิดบุกประเทศ!
แน่นอนว่าปัญหาใหญ่ที่สุดในการจัดโอลิมปิกครั้งนี้ก็หนีไม่พ้นของปัญหาการระบาดของโควิด 19 ซึ่งมีผลกระทบหนักในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจพัง บริษัทโฆษณาและธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆที่เคยคาดหวังว่าการจัดโอลิมปิกจะช่วยสร้างเงินทดแทนรายได้ที่หายไปในช่วงโควิด แต่การเลื่อนการจัดงานโอลิมปิกออกไปถึง 1 ปีก็ทำให้หลายธุรกิจขาดทุนย่อยยับ เสี่ยง “ไวรัสโควิคในโอลิมปิก” ถึงจะมีมาตรการป้องกันเข้มงวด แต่การที่เจ้าหน้าที่และนักกีฬาที่มาจากกว่า 200 ประเทศเดินทางเข้าสู่ญี่ปุ่นก็สร้างความกังวลไม่น้อย ประธานสมาคมแพทย์ญี่ปุ่นเองได้เตือนว่าถ้าจะจัดการแข่งขึ้นจริงก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่หรือการเกิดไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์โตเกียวโอลิมปิกขึ้นนั่นเอง
งบประมาณพุ่งไม่หยุด
การที่โอลิมปิกล่าช้านั้นทำให้งบประมาณบานปลาย ทั้งจากค่าใช้จ่ายในการป้องกันโควิด ค่าบำรุงหมู่บ้านนักกีฬาและโครงสร้างต่างๆ ที่ติดตั้งไว้ ค่าปรับแก้สัญญาต่างๆ รวมถึงค่าจ้างพนักงานที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงดังกล่าว เรื่องนี้เองทำให้ญี่ปุ่นต้องเพิ่มเงินในการจัดงานขึ้นรวมกว่า 1.64 ล้านล้านเยน (4.65 แสนล้านบาท)
ถึงแม้ผู้ว่าฯ โตเกียว จะออกมาบอกชี้แจ้งเกี่ยวกับเรื่องการเงิน ว่าเงินส่วนนี้จะนำไปสร้างที่พักครบวงจรให้แก่นักกีฬาพาราลิมปิก, ฝึกอาสาสมัครที่จะมาช่วยงานกีฬา, และอื่นๆ แต่นั้นก็ทำให้เกิดความไม่พอใจแก่ประชาชน และเรียกร้องให้ผู้จัดการแข่งขันกีฬาให้ความโปร่งใสด้านการเงินมากกว่านี้
9 เว้นระยะห่างแต่มีการแจกถุงยาง
นอกจากนี้แล้วยังมีเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับสถาณะการโควิดทำให้ญี่ปุ่นโดนชาวเน็ตนานาชาติแซวหนักมาก เพราะในคู่มือไกด์บุ๊กผู้เข้าร่วมโตเกียวเกมส์ได้ระบุว่าทุกคนต้องเว้นระยะห่างทางสังคม 2 เมตร ตามมาตรการ Social Distancing แต่เจ้าภาพญี่ปุ่นนั้นดันแจกถุงยางอนามัยให้นักโอลิมปิกและเจ้าหน้าที่ในหมู่บ้านนักกีฬาซะอย่างนั้น ซึ่งการแจกถุงยางอนามัยถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ของโอลิมปิกตั้งแต่ปี 1988 เพราะรที่นักกีฬาที่แข่งแพ้วันแรกๆ ไม่มีอะไรทำ เลยมักจะดำเนินกิจกรรมสานสัมพันธ์ ซึ่งในครั้งนี้ ญี่ปุ่นก็เตรียมถุงยางไว้ถึง 160,000 ชิ้น พร้อมนำเสนอวัฒนธรรมด้วยการใส่ลวดลายงานศิลปะสไตล์อุคิโย-เอะ หรือภาพพิมพ์ญี่ปุ่นโบราณจากศตวรรษที่ 17-19 ลงบนถุงยางที่แจกอีกด้วย
สุดท้ายทางญี่ปุ่นได้ออกมาแก้ต่างผ่านสื่อว่า การที่แจกถุงยางอนามันนั้นให้เอากลับไปเป็นที่ระลึกเฉยๆ ไม่ได้ให้นำเอามาแต่อย่างใด
ขอบคุณรูปภาพจาก pinterest
10 ทำไมถึงทำการยกเลิกโอลิมปิกไม่ได้ ?
ส่วนนึงที่ชาวญี่ปุ่นต้องออกมาเดินขบวนประท้วงนั้น คือการที่ไม่สามารถยกเลิกโอลิมปิกครั้งนี้ได้ ทั้งๆ ที่สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น และหลายที่บนโลกรวมทั้งญี่ปุ่นเองก็ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ค่อนดีนก
ในตอนนั้นนายโทมัส บาคห์ ประธาน IOC ออกมาสัมภาษณ์ว่า ต้องมีผู้เสียสละเพื่อให้งานโอลิมปิกเกมส์เป็นจริงมันก็เหมือนเพิ่มเติมสถาณะการให้เลวร้ายมากขึ้น เพราะชาวญี่ปุ่นมองว่า "ผู้เสียสละ” ที่นายบาคห์หมายถึงคือประเทศเจ้าภาพอย่างพวกเขา เพราะพวกเขาต้องเสี่ยงรับคนนอก ที่ไม่รู้จะมาทำให้โรคระบาดเลวร้ายลงหรือเกิดการกลายพันธุ์มากขึ้นไหม
ผู้คนจำนวนมากก็ออกมาต่อต้านการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกอย่างเปิดเผย และแม้จะมีโพลหลายฉบับเผยว่าคนญี่ปุ่นกว่า 60 - 80% เห็นว่าควรจะยกเลิกหรือเลื่อนโอลิมปิกไปก่อนเพื่อความปลอดภัยในสุขภาพและชีวิต แต่อำนาจตัดสินใจว่าจะจัดหรือยกเลิกโอลิมปิกกลับอยู่ที่ IOC
ตามกฎหมายแล้ว IOC เป็นผู้ถือครองลิขสิทธิ์การจัดโอลิมปิก ญี่ปุ่นเป็นเพียงประเทศที่ IOC จ้างให้จัดงานนี้ให้เกิดขึ้น
ต่อให้รัฐบาลญี่ปุ่นอยากจะยกเลิกก็ทำไม่ได้ เพราะมันจะผิดสัญญาที่สองฝ่ายตกลงกัน หากญี่ปุ่นทำการยกเลิกการจัดงาน ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยมหาศาลในระดับประเมินไม่ได้ เพราะไม่เคยมีกรณีเช่นนี้มาก่อน
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงดราม่าบางส่วนระหว่างการเตรียมจัดโอลิมปิกของญี่ปุ่น ซึ่งประเทศเจ้าภาพต้องฝ่าฟันมาตลอดเพื่อให้งานนี้เกิดขึ้นได้จริง จนถึงตอนนี้ที่งานโอลิมปิกได้ผ่านไปแล้ว ก็ต้องยอมรับส่วนนึงเลยว่าทางเจ้าภาพการจัดงานญี่ปุ่นนั้นสามารถทำออกมาได้ดีเลยทีเดียว
และเราก็เห็นได้จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ว่าญี่ปุ่นนั้นเป็นชนชาติที่ไม่เคยยอมแพ้ แม้จะต้องเผชิญอุปสรรคมากมาย พวกเขาก็สามารถยืนหยัดขึ้นมาได้ใหม่ และยังพัฒนาตนเองไปได้ไกลกว่าเดิม ดีกว่าเดิมเสมอ
ขอบคุณข้อมูลจาก lucabet